วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประวัติเรือพระที่นั่ง

การเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค

การเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ไทยนับแต่โบราณกาลมา นอกจากการเสด็จพระราชดำเนินทางบก ที่เรียกว่า "พยุหยาตราสถลมารค" แล้ว การเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำ คือ พยุหยาตราชลมารค" ก็เป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญยิ่งเช่นกัน ตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัยเป็น ราชธานีของไทยเรา ปรากฏว่าพระร่วงทรงเรือออกไปลอยกระทงหรือพิธีจองเปรียง ณ กลางสระกลางน้ำ พร้อมทั้งเผาเทียนเล่นไฟในยามเพ็ญเดือนสิบสอง ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีซึ่งเป็นเมืองเกาะล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงเก่าจึงต้องอาศัยเรือ ในการสัญจรไปมา รวมทั้งในเวลารบทัพจับศึกก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฏว่ามีการสร้างเรือรบมากมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในเวลาบ้านเมืองปราศจากศึกสงครามได้ใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ์กันเป็นนิจ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ราษฎรว่างจากการทำนา จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาลประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผนดินจึง เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แหน เพื่อให้ไพรพลได้รื่นเริงในการกุศล จึงจัดเป็นประเพณีที่แห่เสด็จกฐิน
นอกจากนั้นกระบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปในการต่างๆ ทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธีตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก การเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญ พระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง การต้อนรับทูตต่างประเทศ เป็นต้น

ประวัติเรือพระที่นั่ง



เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งโปรดให้สร้างแทนลำเดิมมีนามว่า ศรีสุพรรณหงส์ ซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก พื้นเรือสีดำน้ำหนัก 15.6 ตัน กว้าง 3.15 เมตร ยาว 44.70 เมตร ลึก 0.90 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร ฝีพาย 50 นาย นายท้าย 2 นาย นายเรือ 2 นาย พายที่ใช้เป็นพายทอง พลพายจะพายในท่านกบิน และถือเป็นธรรมเนียมว่าถ้าจะเปลี่ยนท่าพายธรรมดาจะต้องรับพระบรมราชานุญาติเสียก่อน



เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ลำปัจจุบันเป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แทนลำเดิมซึ่งสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โขนเรือปิดทองประดับกระจก เป็นรูปพญานาค 7 เศียร พื้นเรือ สีเขียว น้ำหนัก 15.36 ตัน กว้าง 2.95 เมตร ยาว 42.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 นาย นายท้าย 2 นาย


เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หัวเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก พื้นเรือสีชมพู น้ำหนัก 7.7 ตัน กว้าง 3.15 เมตร ยาว 45.40 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก 1.46 เมตร ฝีพาย 61 นาย นายเรือ 2 นาย นายท้าย 2 นาย


เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งจัดสร้างขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบัน มีโขนเรือเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ ซึ่งนำต้นแบบมาจากเรือนารายณ์ทรงสุบรรณ ลำเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 นี้ กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร และสำนักพระราชวัง ได้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วโรกาสพระราชพิธีในปีกาญจนาภิเษก มีฐานะเป็นเรือพระที่นั่งรอง ทอดบัลลังก์กัญญา เทียบเท่า เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ พื้นเรือสีแดงชาด น้ำหนัก 20 ตัน กว้าง 3.20 เมตร ยาว 44.30 เมตร ลึก 1.10 เมตร ฝีพายจำนวน 50 นาย นายท้าย 2 นาย (เพื่อให้สอดคล้องกับ วโรกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

ศิลปะแม่ไม้มวยไทย

ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
แม่ไม้มวยไทย
แม่ไม้มวยไทย หมายถึงท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่สำคัญที่สุด อันเป็นพื้นฐานของการใช้ไม้มวยไทย ซึ่งผู้ฝึกมวยไทยจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้ได้ก่อนที่จะฝึกลูกไม้ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ไม้มวยไทยที่ละเอียดขึ้น
โบราณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยเป็น 15 ไม้ ดังนี้
1. สลับฟันปลา (รับวงนอก)
แม่ไม้นี้ เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น ใช้รับและหมัดตรงของคู่ต่อสู้ที่จะชกนำ โดยหลบออกนอกลำแขนของคู่ต่อสู้ทำให้หมัดเลยหน้าไป
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หมายใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาหลบไปทางกึ่งขวา 1 ก้าว พร้อมทั้งโน้มตัวเอนไปทางขวาประมาณ 60 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ขาขวางอเล็กน้อยศีรษะและตัวหลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ใช้มือขวาจับคว่ำมือที่แขนท่อนบนของฝ่ายรุก มือซ้ายจับกำหงายที่ข้อมือของฝ่ายรุก (ท่าคล้ายจับหักแขน)

2. ปักษาแหวกรัง (รับวงใน)
แม่ไม้นี้เป็นไม้ครูของการเข้าสู่วงในเพื่อใช้ลูกไม้อื่นต่อไป
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หน้าฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้าย ไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไปข้างหน้าเฉียงไปทางกึ่งซ้ายเล็กน้อยภายใน แขนซ้ายของฝ่ายรุก ตัวเอนประมาณ 30 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้ายพร้อมกับงอแขนทั้ง 2 ขึ้นปะทะแขนท่อนบนและแขนท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว หมัดของฝ่ายรับทั้งคู่ชิดกัน (คล้ายท่าพนมมือ) ศอกกางประมาณ 1 คืบ ศีรษะและใบหน้ากำบังอยู่ระหว่างแขนทั้งสอง ตาคอยชำเลืองดูหมัดขวาของฝ่ายรุก

3. ชวาซัดหอก (ศอกวงใน)
แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลักสำหรับหลบหมัดตรงออกทางวงนอกแล้วโต้ตอบด้วยศอก
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงบริเวณที่ใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไปทางกึ่งขวา ตัวเอนประมาณ 30 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา พร้อมงอแขนซ้ายใช้ศอกกระแทกชายโครงใต้แขนของฝ่ายรุก

4. อิเหนาแทงกริช (ศอกวงใน)
แม่ไม้นี้เป็นหลักในการรับหมัดตรง และใช้ศอกเข้ารุกวงใน
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดขวาตรงบริเวณหน้าฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ ใช้มือซ้ายปัดหมัดขวาของคู่ต่อสู้ให้เลยพ้นไปแล้ว รีก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อย ตัวเอนประมาณ 60 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา งอศอกขวาขนานกับพื้น ตีระดับชายโครงฝ่ายรุก

5. ยอดเขาพระสุเมรุ (ชกคางหมัดต่ำก้มตัว 45 องศา)
แม่ไม้นี้ ใช้รับหมัดตรงในลักษณะก้มตัวเข้าวงในให้หมัดผ่านศีรษะ ไปแล้วชกเสยคาง
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่หมายใบหน้าฝ่ายรับ พร้อมก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำเข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวาแขนซ้ายตึงย่อตัวต่ำเอนไปข้างหน้าประมาณ 45 องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวาแล้วให้ยืดเท้าขวายกตัวขึ้นพร้อมกับพุ่งชกหมัดขวา ใต้คางของฝ่ายรุก หน้าเงยดูคางของฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง

6. ตาเถรค้ำฝัก (ชกคางหมัดสูงก้มตัว 60 องศา)
แม่ไม้นี้ เป็นหลักเบื้องต้นในการป้องกันหมัดโดยใช้แขนปัดหมัดที่ชกมาขึ้นข้างบน
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงที่บริเวณใบหน้าฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าทางกึ่งขวาเข้าวงในของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนขวา งอป้องหมัดซ้ายที่ชกมาปัด ขึ้นให้พ้นตัวงอเข่าซ้ายเล็กน้อยใช้หมัดซ้ายชกใต้คางของฝ่ายรุก
7. มอญยันหลัก (รับหมัดด้วยถีบ)
แม่ไม้นี้ เป็นหลักสำคัญในการรับหมัดด้วยการใช้เท้าถีบยอดอก หรือท้อง
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับก้าวท้าวซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ โยกตัวเอนไปทางขวาเอนตัวหนีฝ่ายรุกประมาณ 45 องศา ยืนบนเท้าขวา แขนทั้งสองยกงอป้องตรงหน้า พร้อมกับยกเท้าซ้ายถีบที่ยอดอกหรือท้องของฝ่ายรุกให้กระเด็นห่างออกไป

8. ปักลูกทอย (รับเตะด้วยศอก)
แม่ไม้นี้ใช้เป็นหลักในการรับ การเตะกราดโดยใช้ศอกกระแทกหน้าแข้ง
ฝ่ายรุก ยืนตรงหน้าพอได้ระยะเตะ ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณ ชายโครงของฝ่ายรับจากขวาไปซ้าย โน้มตัวเล็กน้อย งอแขนทั้งสองป้องกันหน้า
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวไปทางซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายฉากไปข้างหลังใช้แขนขวางอ ศอก ขึ้นรับเท้าของฝ่ายรุกที่เตะมา แขนซ้ายงอป้องกันอยู่ตรงหน้าสูงกว่า
แขนขวา เพื่อป้องกันพลาดถูกใบหน้า

9. จระเข้ฟาดหาง (รับหมัดด้วยเตะ)
แม่ไม้นี้ใช้ส้นเท้าฟาดไปทางข้างหลัง มื่อคู่ต่อสู้ชกพลาดแล้วถลันเสียหลักจึงหมุนตัวเตะด้วยลูกเหวี่ยงส้นเท้า
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับสืบท้าวซ้ายไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวากระโดดไปทางกึ่งขวาให้พ้นหมัดฝ่ายรุก แขนงอกำบังตรงหน้าแล้วใช้เท้าซ้ายเป็นหลักหมุนตัว เตะด้วยส้นเท้าขวาบริเวณท้องหรือคอ

10. หักงวงไอยรา (ศอกโคนขา)
แม่ไม้นี้ใช้แก้การเตะโดยตัดกำลังขา ด้วยการใช้ศอกกระทุ้งที่โคนขา
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ งอแขนทั้งสองบังอยู่ตรงหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรุกตรงหน้าเกือบประชิดตัว หันข้างตัวไปทางซ้ายเข่าขวางอ เท้าซ้ายเหยียดตรงพร้อมกับใช้มือซ้ายจับเท้าขวาของฝ่ายรุกให้สูง ศอกขวากระแทรกที่โคนขาของฝ่ายรุก ยกเท้าขวาฝ่ายรุกให้สูงขึ้น เพื่อให้เสียหลักป้องกันฝ่ายรุกใช้ศอกกระแทรกศีรษะ

11. นาคาบิดหาง (บิดขาจับตีเข่าที่น่องหรือข้อต่อเข่า)
แม่ไม้นี้ใช้รับการเตะโดยใช้มือทั้งสองจับปลายเท้าบิดพร้อมกับ ใช้เข่ากระแทกขา
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ แขนทั้งสองงออยู่ตรงหน้า
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวไปทางซ้ายยืนบนเท้าซ้าย มือซ้ายจับส้นเท้าของฝ่ายรุก มือขวาจับที่ปลายเท้าบิดออกนอก ตัว พร้อมกับยกเข่าขวาตีที่น่องหรือข้อต่อเข่าของฝ่ายรุก

12. วิรุฬหกกลับ (รับเตะด้วยถีบ)
แม่ไม้นี้ใช้รับการเตะโดยใช้ส้นเท้ากระแทกที่บริเวณโคนขา
ฝ่ายรุก ยกเท้าซ้ายเตะกลางลำตัวบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ฝ่ายรับรีบยกเท้าซ้ายถีบไปที่บริเวณโคนขาซ้ายของฝ่ายรุก พร้อมยกแขนทั้งสองกันด้านหน้า การถีบนั้นต้องถีบให้เร็วและแรงถึงขนาดฝ่ายรุกหมุนกลับเสียหลัก


13. ดับชวาลา (ปัดหมัดชกตอบ)
แม่ไม้นี้ใช้แก้การชกด้วยหมัดตรงโดยชกสวนที่ใบหน้า
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าแขน คุมบริเวณปลายคาง
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้ากึ่งขวาหลบอยู่นอกหหมัดซ้ายของ ฝ่ายรุกเอี้ยวตัวไปทางขวา ปัดและกดแขนซ้ายของฝ่ายรุกที่ชกมาให้ต่ำลง พร้อมกับใช้หมัดซ้ายชกบริเวณหน้าแล้วพุ่งตัวกระโดดไปทางกึ่งขวา


14. ขุนยักษ์จับลิง(รับ-หมัด-เตะ-ศอก)
แม่ไม้นี้เป็นไม้สำคัญมากใช้ป้องกันคู่ต่อสู้ที่ไว้ในการชก เตะ และศอกติดพันกัน การฝึกแบ่งออกเป็น 3 ตอน
ตอนที่ 1
ฝ่ายรุก ชกหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับเท้าซ้าย สืบไปข้างหน้า
ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเท้าเข้าหาตัวฝ่ายรุกตรงหน้า แขนขวาปัดแขนซ้าย ฝ่ายรับให้พ้นจากตัว
ตอนที่ 2
ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ฝ่ายรับ รีบโยกตัวถอยเท้าซ้ายไปข้างหลังราวกึ่งซ้าย ย่อตัวใช้ศอกขวา กระแทกที่ขาขวาท่อนบนของฝ่ายรุก
ตอนที่ 3
ฝ่ายรุก งอแขนขวาโน้มตัวกระแทกศอกที่ศีรษะของฝ่ายรับ
ฝ่ายรับรีบงอแขนขึ้นรับปะทะใต้ศอกของฝ่ายรุกแล้วรีบโยกตัว ก้าวเท้าขวาถอยไปทางหลังประมาณครึ่งก้าว


15. หักคอเอราวัณ(โน้มคอตีเข่า)
ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงพร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมอยู่บริเวณคาง
ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายสืบไปตรงหน้าฝ่ายรุกอย่างรวดเร็ว พร้อมกับยกแขนขวาสอดปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุก แล้วกระโดดเข้าจับคอของฝ่ายรุกโน้มลงมาโดยแรงแล้วตีด้วย ข่าบริเวณใบหน้า

อาวุธ ไทยในสมัยโบราณ

อาวุธ ไทยในสมัยโบราณ

ง้าว
ง้าวเป็นอาวุธชนิดหนึ่งซึ่งใช้สำหรับฟันและแทง ตัวง้าวทำด้วยเหล็ก ยาวประมาณ 220 เซนติเมตร ง้าวมักจะใช้สู้เมื่ออยู่บนหลังช้าง ซึ่งเติมขอที่โคนง้าว เรียกกันว่า " ของ้าว "


พลอง
เป็นอาวุธซึ้งใช้สำหรับตี พลองนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า " สี่ศอก " เพราะว่ามีความยาว 4 ศอก ปรกติทำด้วยไม้ที่มีความเหนี่ยว ไม่หักง่าย หรือทำด้วยเหล็ก ยาวประมาณ 200 เซฯติเมตร

กระบี่
กระบี่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ กระบี่รำ กระบี่ตี และกระบี่จริง กระบี่เป็นอาวุธหลักที่ใช้ในการรบของทหารไทยสมันโบราณใช้สำหรับฟันแทงระยะประชิดตัว



ดาบ
เป็นอาวุธที่ใช้สำหรับฟังและแทงตัวดาบจะทำด้วยเหล็กอย่างดีมีโค้งตอนปลายเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร มีน้ำหนักมากกว่ากระบี่แต่นำหนักส่วนมากอยู่ที่ตอนปลาย



โล่
โล่เป็นเครื่องป้องกันอาวุธเช่นเดียวกับดั้งหรือเขน แตกต่างกันที่รูปร่างเท่านั้น คือเป็นรูปวงกลม นูนตรงกลางทำด้วยหนังดิบ หวายสาน หรือโลหะ


ดั้ง
เป็นเครื่องป้องกันอาวุธชนิดหนึ่ง ซึ้งใช้สำหรับป้องกันอาวุธของศัตรูเป็นรูปสี่เลี่ยมยาวๆ โค้งๆ คล้ายกาบกล้วย กว้างประมาณ 15เซนติเมตร ยาวประมาณ 100 เซนติเมตรทำด้วยหนังหรือหวายหรือไม้ปะปนกัน



ไม้ศอก

หรือ ไม้สั้นไม้สั้นนับว่าเป็นเครื่องกระบี่กระบองที่สำคัญชิ้นหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายกระดูกท่อนปลายแขน เป็นท่อนไม้รูปสี่เหลี่ยมยาวประมาณ 45 เซนติเมตร กว้างและสูงประมาณ 7 เซนติเมตร